Posted on Leave a comment

การเลือกเนื้อผ้าให้ตรงกับการใช้งาน

fabric-screen
fabric-screen

เนื้อผ้าที่สามารถใช้ในงานสกรีนนั้น มีอยู่มากมายหลากหลายในท้องตลาดทั่วไป มีความแตกต่างกันทั้งราคาและคุณภาพของผ้า ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของเราที่จะนำมาใช้งาน เช่น หากต้องการสกรีนเสื้อเพื่อใข้งานเพียงแค่ครั้งเดียว เช่น งานบวช งานแต่งงาน เราก็สามารถเลือกเนื้อผ้าที่ราคาไม่แพง เช่นผ้า TC หรือ ผ้า TK ได้เพื่อประหยัดงบประมาณ แต่หากต้องการสกรีนเสื้อ เพื่อใช้งานอยู่เป็นประจำ เราก็ควรจะเลือกเนื้อผ้าที่มีความคงทน ใส่สบาย เช่น ผ้า Cotton หรือ อื่นๆ 

ประเภทของเนื้อผ้า

ผ้า COTTON

คือ ผ้าฝ้ายซึ่งผลิตจากเส้นใยธรรมชาติ 100% มีคุณสมบัติระบายอากาศได้ดีมาก เนื้อหนา(ขึ้นอยู่กับเบอร์เส้นด้ายและการทอ) นุ่ม ใส่สบาย ไม่ขึ้นเม็ดขุย เมื่อเหงื่อออกแล้วเราสวมใส่ผ้าชนิดนี้ด้วยคุณสมบัติของผ้า cotton จึงทำให้ซึบซับเหงื่อได้ดี ไม่เป็นเม็ดเหงื่อเกาะติดหลัง เหงื่อซึมออกสู่เนื้อผ้า แต่เนื้อผ้าชนิดนี้มีความคงตัวสูง(ยับง่ายรีดยาก) หด โดยอัตราการหดขึ้นอยู่กับการควบคุมการทอ, การใส่ส่วนผสมปรับความนุ่ม และกระบวนการย้อมสีผ้า ผ้าชนิดนี้จึงนิยมนำมาทำเป็นเสื้อสกรีนสวมใส่ทำกิจกรรมต่างๆ ที่โล่งแจ้ง หรือในห้องแอร์

ผ้า CVC

เป็นผ้าเนื้อผสมระหว่าง cotton กับ poly(ผ้าใยสังเคราะห์) โดยมีเปอร์เซนต์การผสม cotton มากกว่า poly ซึ่งขึ้นอยู่กับเปอร์เซนต์การผสมของเส้นด้ายของแต่ละร้านเลือกใช้ โดยทั่วไปจะอยู่ที่ Cotton 80% Poly 20% เนื้อผ้าชนิดนี้นิยมนำมาใช้แทนผ้า cotton เนื่องจากมีส่วนผสมของ poly ทำให้เนื้อผ้าไม่หด ไม่หนามาก นุ่ม และยังอยู่ในเกณฑ์ระบายอากาศได้ปานกลาง แต่ราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากกระบวนการย้อมสีผ้าค่อนข้างยาก

ผ้า TC

เป็นผ้าเนื้อผสมระหว่าง cotton กับ poly(ผ้าใยสังเคราะห์) โดยมีเปอร์เซนต์การผสม poly มากกว่า cotton ซึ่งขึ้นอยู่กับเปอร์เซนต์การผสมของเส้นด้ายของแต่ละร้านเลือกใช้  ผ้าชนิดนี้จึงนิยมทำงานพิมพ์ด้วยหมึก sublimation หรืองานรีดร้อน heat transfer ต่างๆ เพราะมี poly ผสมค่อนข้างมาก ทำให้เนื้อผ้าคืนตัวไว (ยับยากรีดง่าย) ไม่หด นุ่ม สกรีนสีสดชัด เนื้อผ้าทิ้งตัว เนื้อผ้าชนิดนี้บาง เหมือนจะใส่สบาย แต่ระบายอากาศได้ไม่ดี ขึ้นเม็ดขุย และสีตกง่าย 

ผ้า TK

เป็นผ้า poly 100% เป็นผ้าที่ผลิตจากเส้นใยสังเคราะห์ ทำให้เนื้อผ้าคืนตัวไว(ยับยากรีดง่าย สะบัดๆ ใส่ได้เลย) ไม่หด นุ่มมาก เนื้อผ้าทิ้งตัวมาก ขึ้นเม็ดขุยง่ายมาก บางมากแต่ระบายอากาศได้ไม่ดีเลย เมื่อสวมใส่แล้วเหงื่อออก เม็ดเหงื่อจะยังคงเกาะตัวอยู่หลังเราเนื้อผ้าไม่ช่วยซึบซับเหงื่อออกสู่ด้านนอกเลย ผ้าชนิดนี้นิยมนำมาพิมพ์ผ้าด้วยหมึก sublimation หรืองานรีดร้อน heat transfer ซึ่งจะทำให้งานพิมพ์ออกมาสีสดชัดเจน
Posted on Leave a comment

DTF (Digital Transfer to Film) คืออะไร?

dtf-print

Direct to Film หรือ DTF เป็นกระบวนการที่ถ่ายโอนงานพิมพ์ไปยังผ้าหรือพื้นผิวอื่นๆ โดยใช้กลไกการกดความร้อน ไม่เหมือนกับวิธี DTG ซึ่งใช้ได้กับผ้าฝ้ายเท่านั้น 

การสกรีนด้วยระบบ DTF  สามารถใช้ได้กับผ้าฝ้ายและผ้าผสมโพลี และวัสดุอื่นๆโดยใช้วิธีการพิมพ์สีลงแผ่นฟิลม์ที่เคลือบสารพิเศษ แล้วนำไปรีดลงวัสดุที่เราต้องการ เช่น ผ้ากันเปื้อน เสื้อยืด กระเป๋าผ้า อื่นๆ

  • ข้อดี
  • ไม่ต้องปรับสภาพใด ๆ ก่อนการสกรีน
  • สามารถสกรีนได้ทั้งเนื้อผ้า Cotton และ เนื้อผ้าอื่นๆ รวมถึงวัสดุประเภทอื่นๆ
  • วัสดุที่พิมพ์ออกมาจะยังสัมผัสได้ถึงเนื้อสีเล็กน้อย 
  • งานสกรีนความทนทานต่อการซัก สีไม่ตก– ภาพคมชัดตามไฟล์งาน
  • ไม่จำกัดสีและลวดลาย
  • ไม่ต้องใช้บล็อกสกรีน
Posted on Leave a comment

การเตรียมไฟล์งานเพื่อสั่งสกรีนเสื้อ

how-to-prep-print-files-dpi

คุณลูกค้าสามารถออกแบบลายสกรีนในคอมพิวเตอร์ด้วยโปรแกรมกราฟิกที่มี โดยมีเงื่อนไขดังนี้

  • ไฟล์ภาพ (.jpg, .psd) : เพื่อให้ได้เนื้องานที่มีความคมชัดกริ๊บๆ คุณจะต้องเตรียมไฟล์ที่มีความละเอียดอย่างต่ำ 200-300DPI เช่น อยากได้ลายสกรีนกว้าง 8 นิ้ว แสดงว่าต้องออกแบบลายที่มีความกว้างอย่างน้อย 8 x 300 = 2,400 pixel
  • ไฟล์เวกเตอร์ (.ai, .eps) : คือไฟล์กราฟิกที่ขยายเท่าไหร่ก็ไม่แตก เหมาะกับการทำภาพกราฟิกเช่นโลโก้ ตราสัญลักษณ์ ตัวอักษร หรือภาพการ์ตูนลายเส้น …อ้อ อย่าลืมว่า ถ้าในไฟล์ที่ออกแบบนั้นมีการใช้ตัวอักษร ให้สั่ง “Create Outline” (ระเบิดตัวอักษรให้กลายเป็นเส้นๆ) ไม่งั้นเปิดเครื่องที่ไม่มีฟอนต์แล้วจะมองไม่เห็นครับ ลูกค้าเราลืมประจำเลย 
  • ภาพที่มีพื้นหลังหากไม่ต้องการสกรีน ตัดมาให้ทางร้านด้วยนะคะ หรือส่งเป็นไฟล์ต้นฉบับ (PSD, AI ) มาให้ทางร้านดำเนินการตัดให้ก็ได้ค่ะ